14.10.53

หลักการช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

ขออธิฐานจิต ด้วยบุญกุศลใดๆที่ลูกได้กระทำแล้วทั้งปัจจุบันนี้ก็ดี ในอดีตก็ดี ขอให้อานิสงค์ผลของบุญที่เกิดขึ้นนี้ จงช่วยเป็นแสงบุญแห่งธรรมนำพาดวงจิตดวงใจของเพื่อนรักไปสู่แดนแห่งบุญและกุศล ขอให้เพื่อนจงหลุดพ้นปล่อยวางจากสังขารโดยไม่ต้องทุกข์ทรมาน ด้วยดวงจิตที่เบิกบานด้วยเถิด (แด่ เพื่อนรัก...)

http://www.fungdham.com/sound/popup-sound/pisarn/popup-02.html

 หลักการช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

จากหนังสือเรื่อง  การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ
พระไพศาล วิสาโล
                . การให้ความรักและความเห็นอกเห็นใจ  ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงถูกความเจ็บปวดทางกายรุมเร้าเท่านั้น หากยังถูกรบกวนด้วยความกลัว เช่น กลัวความเจ็บปวด  กลัว ถูกทอดทิ้ง เป็นภาระ กลัวตายโดยไม่มีใครอยู่ด้วย ความรักและกำลังใจจะช่วยเยียวยาความกลัว และต้องรักแบบสุดหัวใจ หรือรักแบบไม่มีเงื่อนไข บางครั้งผู้ป่วยอาจต้องการทดสอบด้วยการแสดงออกหลายอย่าง ผู้ดูแลจึงต้องอดทนอดกลั้นต่อการกระทำ หรือวาจาของผู้ป่วย  ช่วย ดูแลเรียกสติให้กลับคืนมา หรือการใช้ภาษากายสัมผัสอย่างนุ่มนวล น้อมนำให้ผ่อนคลายตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา จะมีส่วนช่วยให้หายกระสับกระส่ายได้ เรียกว่า มีเมตตาจิต
พร้อมที่จะให้ความใส่ใจ  ยอมรับสิ่งที่ผู้ป่วยทำและเป็น ตามความเป็นจริง  ให้ ความมั่นใจว่าจะดูแลช่วยเหลือ และตัวเขาจะไม่เป็นภาระแก่เรา นิ่ง รับฟังอย่างลึกซึ้ง ไม่คาดหวังผู้ป่วยว่าจะต้องดีขึ้น ช่วยปลดวางความหนักของจิตใจ ทำใจ และไม่คาดหวังทุกข์ร้อนกับการป่วยจนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผิดติดค้าง ตายจากไปไม่ได้ 
                กรณีตัวอย่าง พ..อมรา มะลิลา เล่าถึงผู้ป่วยคนหนึ่งซึ่งประสบอุบัติเหตุอย่างหนักระหว่างที่นอนหมดสติอยู่ ในห้องไอซียูนานเป็นอาทิตย์ เขารู้สึกเหมือนลอยเคว้งคว้าง แต่บางช่วงจะรู้สึกว่ามีพลังบางอย่างส่งเข้ามาดึงจิตเขาไว้ ทำให้ใจที่เคว้งคว้างเหมือนจะขาดหลุดไปนั้น กลับมารวมตัวกัน เกิดความรู้ตัวขึ้นมา สักพักความรู้ตัวนั้นก็เลือนไปอีก เป็นอย่างนี้ทุกวัน เขามารู้ภายหลังว่ามีพยาบาลผู้หนึ่งทุกเช้าที่ขึ้นเวรจะมาจับมือเขาแล้วแผ่ เมตตาให้กำลังใจ ขอให้มีกำลังและรู้สึกตัว ในที่สุดเขาก็ฟื้นตัวกลับเป็นปกติทั้ง ๆ ที่แต่แรก หมอประเมินว่ามีโอกาสน้อยมาก กรณีนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ว่าแม้จะหมดสติแต่จิตก็สามารถสัมผัสรับ รู้กระแสแห่งเมตตาจิตของผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้
๒. ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง  ทำให้เขาปล่อยวาง เตรียมตัวทำสิ่งที่สำคัญในชีวิต โดยต้องอาศัยศิลปะในการโน้มนำ เช่น การบอกข่าวร้ายต้องหา Key person ที่มีอิทธิพลต่อตัวผู้ป่วย ที่สำคัญคือต้องบอกความจริงกับผู้ป่วย พร้อมประเมินทั้งผู้ป่วยและญาติเป็นระยะ
๓. การปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ  ช่วย ให้ผู้ป่วยมีโอกาสขอโทษ หรือขอขมา เพื่อให้คลี่คลายความรู้สึกผิด ความโกรธ หรือช่วยให้เขาสะสางงานที่คั่งค้างอยู่ เพราะบ่อยครั้งเรารู้สึกติดค้างกับคนใกล้ชิด เช่น ลูก สามี
๔. ช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ เพราะสัญชาติญาณขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือการยึดติดกับตัวตน ขัดขืนดิ้นรนไม่ยอมรับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย   
                อาจพูดให้คิดเรื่องที่ห่วงใยและช่วยคลายความกังวล (งาน ทรัพย์ ความรู้สึก) หรือแม้กระทั่งคลายความโกรธ และช่วยอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อขออโหสิกรรม
๕. ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม  เมื่อ ป่วยจิตมักจะจมอยู่กับความทุกข์ ช่วยน้อมให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งที่ดีงาม ความประทับใจ จะช่วยคลายจากความทุกข์ เช่น สวดมนต์ ภาวนา จิตจะจดจ่ออยู่กับสิ่งดีงามจนอาจไม่สนใจความปวดที่เกิดขึ้น หรือพูดถึงความดีที่ทำให้ผู้ป่วยภูมิใจ หรือแม้แต่พ่อแม่ที่เจ็บป่วย ลูกก็สามารถพูดให้พ่อแม่รู้สึกปลาบปลื้มปิติ เกิดจิตเป็นกุศลได้ คนทั่วไปอาจไม่รู้สึกปลาบปลื้มเท่าคนป่วยหรือคนใกล้ตาย สิ่งนี้ทำให้จิตไม่หวนกลับไปจมอยู่ในสิ่งที่ไม่ดี
               สิ่งดีงามที่ทำให้จิตเป็นกุศลมี ๒ ส่วน คือ
) ภายนอก สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระรัตนตรัยฯ
๒) ภายใน : คุณ ความดีที่ตนเคยทำในอดีตจะช่วยทำให้อาการเจ็บปวดลดลง เกิดความดีใจอิ่มใจ เช่น ชวนให้ทำบุญ ถวายสังฆทาน และให้ระลึกถึงความดีในขณะปัจจุบันเชื่อมโยงไปสู่อดีต
๖. การสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากมีเสียงร้องไห้ จิตใจผู้ป่วยจะเป็นทุกข์ มีผู้ป่วยมะเร็งบางคนเผชิญกับความเจ็บปวดด้วยการทำสมาธิให้จิตจดจ่ออยู่กับ ลมหายใจเข้าออกหรือการพองยุบของท้อง ปรากฏว่าแทบไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดเลย อีกทั้งจิตยังแจ่มใส ตื่นตัวกว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวอีกด้วย การชักชวนผู้ป่วยทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน โดยมีการจัดห้องให้สงบและดูศักดิ์สิทธิ์ เช่น มีพระพุทธรูปอยู่ในห้อง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ และน้อมจิตของผู้ป่วยในทางที่เป็นกุศลได้ แม้แต่การเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ บทสวด ก็มีประโยชน์ในทางจิตใจต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน บรรยากาศของความสงบนี้ สำคัญมากแม้กระทั่งตอนที่เขาจากไปแล้ว หรือตอนโคม่า เพราะถือว่าแม้จะหยุดหายใจแล้ว แต่ถือว่าจิตยังอยู่
๗. การกล่าวคำอำลา  เพื่อ คลี่คลายความรู้สึกติดค้างใจ ยอมรับกับความตายที่จะมาถึง และจากไปอย่างสงบ แม้กระทั่งคนไข้โคม่าและไม่รู้สึกตัวแล้วก็ยังสามารถพูดได้
กรณี ตัวอย่าง มีหญิงชราผู้หนึ่งนั่งอยู่ข้างเตียงสามีด้วยความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจมาก เพราะไม่เคยบอกสามีว่าเธอรักเขาเพียงใด มาบัดนี้สามีของเธอเข้าขั้นโคม่าและใกล้ตาย เธอรู้สึกว่าสายเกินไปแล้วที่เธอจะทำอะไรได้ แต่พยาบาลให้กำลังใจเธอว่าเขายังอาจได้ยินเธอพูดแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง ใด ๆ เลยก็ตาม ดังนั้นเธอจึงขออยู่กับเขาอย่างเงียบ ๆ แล้วบอกสามีว่าเธอรักเขาอย่างสุดซึ้ง และมีความสุขที่ได้อยู่กับเขา หลังจากนั้นเธอก็กล่าวคำอำลาว่า “ยากมากที่ฉันจะอยู่โดยไม่มีเธอ แต่ฉันไม่อยากเห็นเธอทุกข์ทรมานอีกต่อไป ฉะนั้นหากเธอจะจากไป ก็จากไปเถิดทันทีที่เธอกล่าวจบ สามีของเธอก็ถอนหายใจยาวแล้วสิ้นชีวิตไปอย่างสงบ
เรื่องแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้เพราะบางครั้งคนป่วยรอคอยคำอำลาหรือเรื่องค้างคาที่วานให้คนอื่นทำธุระให้ 

http://www.fungdham.com/sound/pisarn.html

ขอขอบคุณที่มา http://www.peacefuldeath.info/web1/?q=taxonomy/term/5 
http://www.siammongkol.com/smf/index.php?topic=840.0

ไม่มีความคิดเห็น: